วิธีการเตรียม artwork สำหรับงาน Design อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการเตรียม artwork สำหรับ Web Design อย่างมีประสิทธิภาพ หลายๆ คนอาจจะเคยมีปัญหา เวลาส่งงานให้ทางร้านพิมพ์เอกสารกันนะคะว่า งานพิมพ์ออกมาไม่ตรงตามที่เราได้ออกแบบไว้ เราจึงควรทำความเข้าใจและตรวจสอบ Artwork ก่อนจะส่งร้านพิมพ์ให้ดี เพราะอาจเกิดปัญหาได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรทำความเข้าใจและตรวจสอบก่อนส่งร้านพิมพ์ค่ะ
Artwork ก็คือต้นฉบับสำหรับส่งไปพิมพ์จริง ซึ่งเจ้าพวกงานสิ่งพิมพ์ทั้งหลายนี้ หลังจากออกแบบเสร็จแล้ว จะต้องจัดทำต้นฉบับสำหรับส่งพิมพ์ต่างหาก ซึ่งจะมีรายละเอียดทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการพิมพ์ เช่น การกำหนดขนาดชิ้นงาน (A4, A3, A5 etc.) ขนาดและรูปแบบของตัวอักษร (font ,size) กำหนดสีโดยใช้แม่สีสำหรับพิมพ์คือ C=ฟ้า, M=ม่วงชมพู, Y=เหลือง, K=ดำ ให้มีเปอร์เซ็นต์ต่างๆผสมกันตามต้องการ และคำสั่งพิเศษอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้พอรวมกันแล้ว จะได้เป็นงานต้นฉบับที่พร้อมจะส่งไปพิมพ์จริงได้นั่นเองคะ
การเตรียม Artwork ไม่ว่าจะเป็น Print Ad, นามบัตรสักใบ, package design, โบรชัวร์ ที่มีไฟล์อย่างถูกต้องนอกจากจะช่วยลดขั้นตอนในการตรวจเช็คไฟล์ทำให้งานเสร็จเร็วแล้ว ยังช่วยลดปัญหาความผิดพลาดต่าง ๆ ได้อีกด้วย ส่วนขั้นตอนและวิธีการเตรียมนั้นก็เอาแบบกว้างๆแล้วกันนะคะ เพราะงานแต่ล่ะอย่างมีวิธีการแตกต่างกันไป ตามCONCEPT และไอเดียของแต่ละคน ซึ่งบทความนี้ขอเสนอวิธีนี้นะคะ สามารถนำไปปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการทำงานของแต่ละคน ข้อแนะนำในการทำอาร์ตเวิร์ค (Artwork) มีดังนี้ค่ะ
ควรทำขนาดเผื่อตกแต่งมาให้เรียบร้อย การทำ Artwork ในแต่ละครั้ง ควรทำขนาดเพื่อตกแต่งให้เรียบร้อย ไม่ควรให้รายละเอียดที่สำคัญของ Artwork ชิดขอบงานจริงเพราะเมื่องานเสร็จ จะต้องตัดออกด้านละ 1 mm. ซึ่งจะทำให้สิ่งที่อยู่ติดกับขอบชิ้นงานอาจถูกตัดทิ้งไปด้วย
ค่าสีต้องเป็น CMYK เท่านั้น ไม่มี Pantone และตัวอักษรขนาดเล็ก ไม่ควรใส่ค่าสีเกิน 2 เม็ดสี เพราะจะมีโอกาสพิมพ์แล้วสีเหลื่อมหรือซับหลังได้
ตัวอักษรหรือสิ่งที่ต้องการให้เป็นสีดำ ต้องทำตำแหน่ง Sport UV ให้ตรงกับงานจริง ส่วนตัวอักษรที่ต้องใช้ค่าสีผสมกัน จะต้องผสมไม่เกิน 4 เม็ดสี และค่ารวมกันต้องไม่เกิน 200 %
ควรหลีกเลี่ยงงานพิมพ์สี หน้า-หลังเหมือนกัน เพราะมีโอกาสที่สีจะแตกต่างกันได้มาก เนื่องจากสีที่เห็นจากจอคอมพิวเตอร์และจากเครื่องปริ้นเตอร์นั้นจะแตกต่างกัน จึงไม่สามารถยึดเป็นสีงานจริงได้
การสั่งงานพิมพ์ซ้ำกันหลายๆครั้ง มีโอกาสที่สีในแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน เพราะการพิมพ์แต่ละครั้งนั้น จะมีความต่างกันประมาณ 10-15% ค่ะ
ภาพที่จะนำมาใช้ในงานพิมพ์ควรจะถูกคัดกลองมาอย่างดี ภาพที่ดูชัดเจนบนหน้าจออาจจะออกมาไม่ชัดเจนเวลาถูกตีพิมพ์ สำหรับการพิมพ์ที่มีคุณภาพ รูปภาพ บิตแมพควรจะมีความละเอียดอย่างต่ำ 300dpi
บันทึกไฟล์ ARTWORK ของคุณเป็น PDF-X1A หลังจากที่คุณมั่นใจว่างานของคุณนั้นพร้อมสำหรับการพิมพ์แล้ว เลือก File → Save As บนเมนูด้านบน ในช่อง Format เลือกชนิดของไฟล์เป็น Adobe PDF (pdf), แล้วกด “Save” หลังจากนั้นหน้าต่างให้กรอกข้อมูลรายละเอียดของ pdf นั้นก็จะปรากฏขึ้น
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเตียม Artwork เรียบร้อยและส่งพิมพ์ได้เลยค่ะ หากไม่มั่นใจว่าชิ้นงานที่ส่งไปจะมีประสิทธิภาพก็สามารถปรึกษากับทางโรงพิมพ์เพื่อความมั่นใจอีกครั้ง และหากใครกำลังมองหาโรงพิมพ์ดี ๆ ที่บริการครบวงจร สามารถให้คำแนะนำและปรึกษา สามารถสอบถามได้ที่ gogoprint.co.th ได้เลยค่ะ ที่นี่ให้บริการด้านงานพิมพ์อย่างครบวงจร ไม่ว่าคุณต้องการพิมพ์ นามบัตร โบรชัวร์หรือการ์ดแต่งงาน สามารถสั่งได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากค่ะ